งานวิจัย บริการวิชาการ เอกสารวิชาการ เข้าระบบ  
  หน้าแรก

   ปฏิทินกิจกรรม
คณะเกษตรศาสตร์
สำนักงานคณะ
สาขาวิชากีฎวิทยา
สาขาวิชาโรคพืช
สาขาวิชาพืชไร่
สาขาวิชาพืชสวน
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ
ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง
ศูนย์บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร

   ประเภทกิจกรรม
ประชุมเชิงปฏิบัติการ
สัมมนาวิชาการ
บริการวิชาการ
ทำนุบำรุงศิลปะ
อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
พัฒนานักศึกษา
ประกันคุณภาพการศึกษา
การประชุม
การเรียนการสอน
การเยี่ยมชมดูงาน

E-Office
ปฎิทินกิจกรรม
เว็บภาควิชา หน่วยงาน ศูนย์ฯ
Mission

  กิจกรรมคณะเกษตรศาสตร์ หน้าแรก  ค้นหา แนะนำ  

การสัมมนาผลงานวิจัย-ระบบบริหารงานวิจัยของคณาจารย์คณะเกษตรศาสตร์
“สู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและการบริหารงานแผ่นดินของรัฐบาล”

ประเภทการสัมมนาวิชาการ
หน่วยงานคณะเกษตรศาสตร์
วันที่19 - 20 พฤษภาคม 2548
สถานที่ ห้องประชุมเล็ก อาคารเดิม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้เข้าร่วมคณาจารย์ ข้าราชการสาย ข. และพนักงานสายวิชาการ ของคณะเกษตรศาสตร์
จำนวนคน150
 รายละเอียด   กำหนดการ   ประมวลภาพ  



หลักการและเหตุผล

บุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์ดำเนินการงานวิจัยอย่างกว้างขวาง โดยการสนับสนุนของแหล่งทุนวิจัยทั้งในและนอกประเทศ สามารถสร้างผลงานวิจัยและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและต่อเนื่องมาโดยตลอด ทิศทางงานวิจัยและระบบบริหารงานวิจัยมีความหลากหลาย โดยเน้นความคล่องตัวในการดำเนินงานวิจัย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงในระดับนโยบายสองด้านได้แก่ 1) การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ซึ่งเน้นการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและการพึ่งตนเอง และ 2) การบริหารประเทศของรัฐบาลในระหว่างปี 2548-2551 ซึ่งได้กำหนดในการบริหารประเทศยุทธศาสตร์ ๙ ยุทธศาสตร์ในการสร้างความสมดุล ความมั่งคั่ง และความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศไทย ซึ่งหลายยุทธศาสตรมีความเกี่ยวข้องกับการผลิตบัณฑิต การสร้างสรรผลงานวิจัย และนวัตกรรมด้านการเกษตรของคณะเกษตรศาสตร์เป็นอย่างมาก

คณะกรรมการจัดการสัมมนาได้พิจารณาเห็นว่า การร่วมกันพิจารณาและหารือผลกระทบของนโยบายทั้งสองนโยบายต่อระบบการบริหารงานวิจัย ผลงานวิจัย และการนำใช้ผลงานวิจัยของคณาจารย์ของคณะเกษตรศาสตร์ เพื่อนำสู่การกำหนดระบบบริหาร-สนับสนุนงานวิจัยทางเกษตรอย่างเป็นระบบ และการกำหนดทิศทางวิจัย การบูรณาการงานวิจัย และสร้างสรรนวัตกรรมทางเกษตรประเทศไทยและภูมิภาคได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้ จึงเห็นสมควรเชิญคณาจารย์และบุคลากรที่ดำเนินงานวิจัยทางเกษตรได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์แล้วจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสำคัญของงานวิจัยทางเกษตร ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยและทางวิชาการเกษตรให้เข้มแข็งและเป็นแบบอย่างที่ดี (Best Practice) และเพื่อการบริหารจัดการงานวิจัยที่โปร่งใสเป็นธรรม (Good Governance) ต่อไป

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ภาควิชา ศูนย์วิจัย หน่วยวิจัยและบุคลากรได้นำเสนอผลงานวิจัยที่ได้ดำเนินการในระหว่างปีงบประมาณ 2547-2548 และแผนงานวิจัยที่คาดว่าจะดำเนินการในระหว่างปีงบประมาณ 2548-2551
2. เพื่อกำหนดทิศทางการวิจัยและพัฒนาระบบบริหารงานวิจัยร่วมกันบนพื้นฐานของยุทธศาสตร์และนโยบายการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและของรัฐบาล

หน่วยงานสนับสนุน

1. สำนักงานเลขานุการ คณะเกษตรศาสตร์

  • ฝ่ายบริหารและธุรการ
  • ฝ่ายแผนและนโยบาย
  • ฝ่ายบริการวิชาการ
  • ฝ่ายการเงินและพัสดุ
  • ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ศูนย์เกษตรนานาชาติ
    2. ภาควิชา คณะเกษตรศาสตร์
  • ภาควิชากฎีวิทยา
  • ภาควิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์
  • ภาควิชาโรคพืช
  • ภาควิชาพืชไร่
  • ภาควิชาพืชสวน
  • ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
  • ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
  • ภาควิชาสัตว์ศาสตร์
    3. ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร
    4. ศูนย์ฝึกอบรมและวิจัยที่สูง
    5. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาลำไยหริภุญชัย
    6. ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพ
    7. ศูนย์เรียนรู้ชุมชน
    8. ศูนย์ตลาดล่วงหน้าสินค้าเกษตร

    รูปแบบและสาระสำคัญของการสัมมนา

    รูปแบบของการสัมมนามี 2 รูปแบบดังนี้

    1. การบรรยาย (Oral Presentation) เพื่อเสนอภาพรวมผลงานวิจัยและระบบบริหารงานวิจัยของภาควิชา ศูนย์วิจัย และหน่วยวิจัย
    2. การประชุมกลุ่มย่อย ในสาระสำคัญ 2 หัวข้อ ดังนี้

    2.1. ระบบการวิจัย
  • ระบบการจัดตั้ง-รับรอง-พันธกิจ-ดำรงอยู่-ความเชี่ยวชาญของศูนย์วิจัย-หน่วยวิจัย-โครงการวิจัย
  • ระบบบริหารบุคลากรวิจัย คณาจารย์-นักศึกษาทุกระดับ
  • ระบบบริหารการเงิน-คลัง-พัสดุ ของศูนย์วิจัย-หน่วยวิจัย-โครงการวิจัย
  • ระบบการนำใช้ผลงานวิจัย (การบริการชุมชน การจดสิทธิบัตร การจดลิขสิทธิ์)
  • การร่วมมือวิจัยภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • การลงนามความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนในประเทศ (ผู้ใช้ผลงานวิจัยในประเทศ)
  • การลงนามความร่วมมือกับภาครัฐและภาคเอกชนต่างประเทศ (ผู้ใช้ผลงานวิจัยต่างประเทศ)
    2.2. ทิศทางการวิจัย
  • สหสาขาวิชาการซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์มากกว่าหนึ่งสาขาวิชารวมกัน เช่น
  • การจัดการทรัพยากรทางเกษตร (ดิน น้ำ) และการจัดการลุ่มน้ำ (น้ำโขง)
  • เกษตรยั่งยืน (การแก้ไขความยากจนโดยเทคโนโลยีทางเกษตร)
  • เกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริ
  • ระดับสาขาวิชาการเดี่ยว
  • กฏีวิทยา ปฐพีศาสตร์ พืชไร่ พืชสวน โรคพืช อนุรักษศาสตร์ ส่งเสริม-เผยแพร่การเกษตร สัตว์ศาสตร์
  • การจัดการธาตุอาหารพืช
  • เทคโนโลยีชีวภาพ
  • วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว

    ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    1. ผู้เข้าร่วมการสัมมนาจะได้รับทราบความก้าวหน้าในการวิจัยและสร้างสรรนวัตกรรมของบุคลากรของคณะเกษตร เพื่อการรองรับยุทธศาสตร์ในการบริหารและพัฒนาประเทศของรัฐบาล
    2. ทิศทางการวิจัยและระบบบริหารงานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์





  •       Nedstat Basic   www.agri.cmu.ac.th