|
โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ประเภท | การประกันคุณภาพการศึกษา | หน่วยงาน | สำนักงานคณะ | วันที่ | 18 ตุลาคม 2550 | สถานที่ | ห้องประชุมนคร ณ ลำปาง ศูนย์วิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตทางเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ | ผู้เข้าร่วม | หัวหน้างาน ผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา/หน่วยงาน | จำนวนคน | 50 | | รายละเอียด ประมวลภาพ |
หลักการและเหตุผลพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ใน หมวด 5 ที่ว่าด้วยการบริหารและการจัดการศึกษา มาตรา 34 ได้กำหนดให้คณะกรรมการการอุดมศึกษา มีหน้าที่พิจารณาเสนอมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของชาติ ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯ คณะกรรมการการอุดมศึกษาจึงได้จัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษา เพื่อใช้เป็นกลไกระดับกระทรวง ระดับคณะกรรมการการอุดมศึกษาและระดับหน่วยงาน และเพื่อนำไปสู่การกำหนดนโยบายของสถาบัน อุดมศึกษาในการพัฒนาการอุดมศึกษา ในปี 2550 คณะกรรมการการอุดมศึกษาได้มีการปรับปรุงระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา โดยมีการพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินตามองค์ประกอบคุณภาพขึ้น มีทั้งประเภททั่วไปที่ใช้ได้กับทุกสถาบันอุดมศึกษา และประเภทที่แยกใช้เฉพาะกับสถาบันที่มีจุดเน้นต่างกัน
คณะเกษตรศาสตร์ จึงจัดให้มีการสร้างความรู้และความเข้าใจในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา ให้แก่หัวหน้างานและผู้รับผิดชอบด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา/หน่วยงาน โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวทางสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้เรียนรู้โดยตรงและมีความเข้าใจตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินตามองค์ประกอบคุณภาพของ สกอ. มากยิ่งขึ้น และเป็นการเรียนรู้และดำเนินการร่วมกันในการจัดทำฐานข้อมูลต่อไป
วัตถุประสงค์1. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา/หน่วยงาน ได้ทราบถึงหลักการ ความสำคัญ ความจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามแนวทาง สกอ.
2. เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา/หน่วยงาน ได้เรียนรู้ร่วมกันโดยการแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ ตลอดจนการดำเนินการร่วมกันในการจัดทำฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายในคณะฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ1. ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา/หน่วยงาน ทราบถึงหลักการ ความสำคัญ ความจำเป็นในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามแนวทาง สกอ.
2. ผู้ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของภาควิชา/หน่วยงาน มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาตามแนวทาง สกอ. ที่ถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์แก่ภาควิชา/หน่วยงานของตนเองต่อไป
|
|
เอกสาร : 220 KB ดาวน์โหลด : 469 ครั้ง |
|
|