งานวิจัย บริการวิชาการ เอกสารวิชาการ เข้าระบบ  
  หน้าแรก

   หน่วยงาน-ภาควิชา
โครงสร้างการแบ่งส่วนองค์กร
สำนักงานคณะ
สาขาวิชากีฎวิทยา
สาขาวิชาโรคพืช
สาขาวิชาพืชไร่
สาขาวิชาพืชสวน
สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์
สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
สาขาวิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร
ภาควิชาสัตวศาสตร์และสัตว์น้ำ
ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ
ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร
ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมที่สูง
ศูนย์บริการวิชาการ และถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร


   หน่วยงานคณะเกษตรศาสตร์

ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ
Mae Hia Agricultural Research, Demonstrative and Training Center

เว็บไซต์ http://web.agri.cmu.ac.th/maehia/
โทรศัพท์0-5394-8401-2
โทรสาร 0-5394-8403
กิจกรรม ปฏิทินกิจกรรม (activity calendar)
หน้า[ 1 ]

แนะนำ

ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ตั้งอยู่เลขที่ 155 หมู่ 2 ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ห่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ไปตามถนนเลียบคลองชลประทานประมาณ 5 กิโลเมตร ศูนย์วิจัย สาธิตและฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ แต่เดิมอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติพิเศษป่าดอยสุเทพ ต่อมาเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2509 กรมป่าไม้อนุญาตให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้าใช้พื้นที่โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเรียนการสอน การวิจัย ทางการเกษตรปัจจุบันมีพื้นที่ประมาณ 600ไร่ สภาพพื้นที่โดยทั่วๆ ไป ประกอบด้วยที่ลาดเชิงเขา ที่เนินสลับด้วยพื้นที่บางตอนที่ค่อนข้างราบ มีเทือกเขาดอยสุเทพทอดตัวเป็นแนวยาวห้อมล้อมพื้นที่ทั้งทิศตะวันตกและทิศเหนือ ระดับความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ความลาดชันอยู่ในช่วง 0-15% โดยพื้นที่ค่อยๆ ลาด จากทิศเหนือลงสู่ทิศใต้ ลักษณะดิน มีหลายชุดดินด้วยกัน โดยส่วนใหญ่กว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ทั้งหมดเป็นดินชุดแม่ริม ร้อยละ 22 เป็นดินชุดห้างฉัตรและนครสวรรค์ ส่วนที่เหลือเป็นดินชุดกำแพงแสน แม่สาย เรณูและสตึก จากการวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีของดินในแปลงวิจัยที่ใช้ปลูกพืชไร่พบว่า มีค่าความเป็นกรด-ด่าง ระหว่าง 5.5-6.3 มีปริมาณอินทรีย์วัตถุ 1.3-1.8% ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ 33-38 ppm และโปแตสเซี่ยมที่แลกเปลี่ยนได้ 25-32ppm

วิสัยทัศน์

"เป็นศูนย์วิจัยฯ ที่ให้การสนับสนุนการวิจัย การเรียนการสอน การฝึกอบรม ตลอดจนมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรที่ดี และเหมาะสมอย่างเป็นระบบ เพื่อความปลอดภัยและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม"

พันธกิจ

1. ผลิตผลงานสนับสนุนงานวิจัยทางด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตภาคเกษตรให้เกิดความปลอดภัยต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
2. สนับสนุนการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูง โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ทางภาคปฏิบัติและทฤษฎีอย่างเป็นระบบ เพี่อความเป็นเลิศทางวิชาชีพ วิชาการ ตลอดจนสามารถนำไปแก้ไขปัญหาของประเทศได้ทันต่อเหตุการณ์
3. ให้บริการทางด้านวิชาการ การฝึกอบรมและการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสมต่อสังคม
4. เป็นแหล่งธำรงไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. ปรับเปลี่ยนการบริหารและจัดการเพื่อไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ โดยมุ่งเน้นการพึ่งพาตนเอง

เป้าหมาย

1. ผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษได้มาตรฐานระดับสากล
2. ระบบการเกษตรที่มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. สนับสนุนงานวิจัยของคณาจารย์ บุคลากรทั้งในสถาบันและต่างสถาบัน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย การเรียนการสอน การฝึกอบรม ตลอดจนการพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสม บนพื้นฐานของความปลอดภัย และความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
2. เพื่อเป็นศูนย์กลางของการเรียน และถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสมแบบครบวงจรอย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้เป็นแหล่งของผลงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเกษตรที่ดีและเหมาะสม สามารถนำไปแก้ไขปัญหาของสังคมและสิ่งแวดล้อม
4. เพื่อให้สถานีวิจัยฯแม่เหียะ สามารถพึ่งพาตนเองได้ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของระบบบริหารจัดการไปสู่มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล

ยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมการเกษตรแม่เหียะ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและสนับสนุนงานวิจัยเชิงบูรณาการเพื่อพัฒนาด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสม สร้างงานวิจัยและสนับสนุนการวิจัยเชิงบูรณาการด้านการเกษตรที่ดีและเหมาะสม โดยมุ่งเน้นความปลอดภัยของสุขภาพและความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก

Introduction

UNDER CONSTRUCTION !

ภาพประกอบ

ภาพประกอบ


      Nedstat Basic   www.agri.cmu.ac.th